|
|
|
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการพิเศษในงานวิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโลหการที่
ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญและประสบการณ์ในวิชาชีพสูงมากเป็นพิเศษ
และผลงาน เป็นที่ยอมรับในงานด้านวิศวกรรมโลหการ โดยต้องคิดริเริ่มพัฒนาแนวทางเพื่อหาวิธีการใหม่
ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน ประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์ในการกำกับตรวจสอบ
เพื่อให้การ ดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายตามที่กำหนด
แก้ไขปัญหาและ ตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรที่จะนำมาใช้เพื่อให้แผนงาน
โครงการที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนประเมินผล เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย หรือ
บริหารงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานสูงกว่าระดับกอง
ซึ่งมีหน้าที่และความ รับผิดชอบในการควบคุม กำกับหน่วยงานด้านวิศวกรรมโลหการที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลาย
และมีขั้นตอนการทำงานยุ่งยากซับซ้อนมากเป็นพิเศษ โดยปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ
และลูกจ้างจำนวนมากพอสมควร และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
เกี่ยวกับงานวิชาชีพด้านวิศวกรรม โลหการที่มีลักษณะต้องใช้องค์ความรู้ทางวิชาการที่ลึกซึ้ง
มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก เช่น วางแผน วางโครงการอำนวยการโครงการด้านวิศวกรรมโลหการ
พิจารณา ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ทำความเห็น สรุปรายงาน ให้คำปรึกษา
เสนอแนะ และดำเนินการปฏิบัติงานวิศวกรรมโลหการที่มีลักษณะต้อง
ใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพวิศวกรรมโลหการที่ลึกซึ้ง มีความยุ่งยากและซับซ้อนมาก
เกี่ยวกับการถลุง การหล่อ การหลอมเพื่อการทดสอบคุณสมบัติ การปรับปรุงคุณสมบัติ
การใช้ประโยชน์ การควบคุม คุณภาพการผลิตโลหะและสารประกอบโลหะ
ศึกษา และวิเคราะห์ข้อบกพร่องของชิ้นงานโลหะ วิเคราะห์องค์ประกอบของโลหะและโลหะผสมทางฟิสิกส์
เพื่อการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ ข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย
การวิจัยทางโลหวิทยา การพิจารณา และตรวจสอบการประกอบ โลหกรรม
และการควบคุมและอำนวยการประกอบโลหกรรม ศึกษาและวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจโลหกรรม
ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ติดตามและพัฒนาเทคโนโลยีทางโลหวิทยา ออกแบบ
ดัดแปลง และประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องมือที่ซับซ้อนเพื่อใช้ในงานวิศวกรรมโลหการ
พัฒนาเอกสารวิชาการ ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบาย
และแผนงานด้านวิศวกรรมโลหการ ศึกษา ค้นคว้า ปรับปรุงหรือประยุกต์งานด้านวิศวกรรมโลหการเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐาน
วิธีการ ทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่องานในหน้าที่และต่อวิชาชีพ
ให้คำปรึกษาแนะนำในการ ปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา
ให้บริการวิชาการ สอน หรือฝึกอบรม ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาวิศวกรรมโลหการ
เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของ งานในความรับผิดชอบ
เช่น เป็นวิทยากร ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่
เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้แทนของส่วนราชการในการร่วม
ประชุมเจรจาปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิศวกรรมโลหการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว
ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน ติดต่อประสานงาน วางแผน
มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุมตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ
ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล แก้ไขปัญหา ข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรโลหการ
3 หรือวิศวกรโลหการ 4 ข้อ 2 หรือวิศวกรโลหการ 5 ข้อ 3 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ
8 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโลหการ
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรโลหการ
3 หรือวิศวกรโลหการ 4 ข้อ 2 หรือวิศวกรโลหการ 5 ข้อ 3 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ
7 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโลหการ
หรืองานอื่นที่ เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. ในฐานะผู้ชำนาญการพิเศษมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับวิศวกรโลหการ
8 มีความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญงานงานด้านวิศวกรรมโลหการสูงเป็นพิเศษ
โดยมีผลงาน ที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในระดับมหาวิทยาลัย และวงการวิชาชีพด้านวิศวกรรมโลหการ
2. ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานที่สูงกว่าระดับกอง
มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับ วิศวกรโลหการ 8 และมีความรู้เป็นพิเศษในงานด้านวิศวกรรมโลหการ
สามารถให้คำปรึกษาแนะนำ งานในด้านวิศวกรรมโลหการให้แก่หน่วยงานที่สังกัดและส่วนราชการอื่น
หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดวันที่
27 ธันวาคม 2537 |
|
|