KU Logoกองการเจ้าหน้าที่ 1กองการเจ้าหน้าที่ 2









มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สาย ข

นักรังสีการแพทย์  ระดับ 3นักรังสีการแพทย์  ระดับ 4นักรังสีการแพทย์  ระดับ 5นักรังสีการแพทย์  ระดับ 6นักรังสีการแพทย์  ระดับ 7นักรังสีการแพทย์   ระดับ 8นักรังสีการแพทย์   ระดับ 9
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการรังสีการแพทย์ ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพ ของงานสูง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ หรือภายใต้การกำกับตรวจสอบบ้าง หรือ ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง หรือในฐานะ ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานวิชาการรังสีการแพทย์ โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่ง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการรังสีการแพทย์ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยาก เกี่ยวกับวิชาการรังสีการแพทย์ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทางด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรือรังสีฟิสิกส์ จัดท่าผู้ป่วย ถ่ายและบันทึกภาพส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยเครื่องรังสีเอ๊กซ์ ในกรณีที่ต้องใช้เทคนิคหรือกรรมวิธีพิเศษที่ยุ่งยาก โดยการให้ผู้ป่วยรับประทาน ฉีด หรือสวนสารทึบแสงเข้าไปในร่างกายก่อนถ่ายและบันทึกภาพ ตรวจสอบคุณภาพของภาพบันทึกทางรังสี ก่อนที่จะส่งให้แพทย์วินิจฉัยโรค หาและตรวจสอบตำแหน่งของโรคเพื่อกำหนดขอบข่ายในการรักษา คำนวณปริมาณรังสีและแร่รังสี รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่จะให้รังสีแก่ผู้ป่วยตามปริมาณที่ต้องการ ปรับขนาดของลำแสง และทิศทางของรังสี ที่จะใช้กับผู้ป่วย ป้องกันส่วนของร่างกายที่ดีให้ปลอดภัยจากอันตรายจากรังสี ด้วยวัสดุกั้นรังสี เช่น แท่งตะกั่ว ฉายรังสีเพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก ก้อนทูม ด้วยเครื่องโคบอลต์ 60 และเครื่องมือทางรังสีเทคนิคอื่น ๆ ใส่และฝังแร่รังสีในอวัยวะบางส่วนของร่างกายเพื่อบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ควบคุมการใช้สารกัมมันตภาพรังสี และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทาง เวชศาสตร์นิวเคลียร์กับผู้ป่วย ตรวจสอบปริมาณรังสีในกากกัมมันตภาพรังสีก่อนนำไปทิ้ง วัดปริมาณรังสี จากเครื่องกำเนิดรังสีชนิดต่าง ๆ ด้วยเครื่องวัดรังสี ศึกษาลักษณะการกระจายของรังสีจากเครื่องกำเนิดรังสี ทดสอบ และตรวจสภาพของเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ทางด้านรังสี ตลอดจนซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และใช้งานได้ และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และแก่นักศึกษาที่มาฝึกหรือดูงาน ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์วิจัยเพื่อปรับปรุงเทคนิคการปฏิบัติงานทางด้านรังสีการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการรังสีการแพทย์
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยัง ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำ ปรับปรุง แก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ 3 และได้ดำรงตำแหน่ง ในระดับ 3 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับ งานวิชาการรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางรังสีเทคนิค ฟิสิกส์การแพทย์ ชีวะฟิสิกส์ หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักรังสีการแพทย์ 3 แล้ว จะต้อง 1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการ ที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน


หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดวันที่ 1 ตุลาคม 2537