|
| |
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน
รับผิดชอบงานวิชาการรังสีการแพทย์ โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวน
พอสมควร หรือปฏิบัติงานวิชาการรังสีการแพทย์ที่ยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการรังสีการแพทย์ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับวิชาการรังสีการแพทย์
โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น ควบคุมและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ
อุปกรณ์ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ทางด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์
หรือรังสีฟิสิกส์ ถ่ายและบันทึกภาพส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผู้ป่วยด้วยเครื่องรังสีเอ๊กซ์
ในกรณีที่ต้องใช้เทคนิคหรือกรรมวิธีพิเศษที่ยุ่งยาก ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของภาพที่ได้
หาและตรวจสอบตำแหน่งของโรค เพื่อกำหนดขอบข่ายในการรักษา คำนวณปริมาณรังสีและแร่รังสี
รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่จะให้รังสีแก่ผู้ป่วยตามปริมาณที่ต้องการ คำนวณความหนา และออกแบบแท่งตะกั่วเพื่อใช้ป้องกันอวัยวะส่วนที่สำคัญให้ได้รับรังสีในปริมาณที่ปลอดภัย
ฉายรังสีเพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก ก้อนทูม ด้วยเครื่องโคบอลต์
60 และเครื่องมือทางรังสีการแพทย์อื่น ๆ ใส่และฝังแร่รังสีในอวัยวะบางส่วนของร่างกายเพื่อบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
การป้องกันส่วนของร่างกายที่ดีให้ปลอดภัยจากอันตรายจากรังสี ควบคุมการใช้สารกัมมันตภาพรังสี
และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์กับผู้ป่วย วิจัยหาค่ามาตรฐานสำหรับการตรวจต่าง
ๆ ตรวจสอบความปลอดภัยและแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องกำเนิดรังสี และบริเวณที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดรังสี
รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ทางรังสีการแพทย์อื่น ๆ ดำเนินการสอบเทียบมาตรฐานของเครื่องวัดรังสี
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เพื่อปรับปรุงเทคนิคการปฏิบัติงานทางด้านรังสีการแพทย์ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำใน การปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และแก่นักศึกษาที่มาฝึกหรือดูงาน
ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการรังสีการแพทย์
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว
ยัง ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ
ปรับปรุงแก้ไข ติดตาม ประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่
รับผิดชอบด้วย ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน
ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักรังสีการแพทย์
3 หรือนักรังสีการแพทย์ 4 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า
2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือ 2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักรังสีการแพทย์
3 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4
ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับ งานวิชาการรังสีการแพทย์ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี 3.ได้รับปริญญาเอกทางรังสีเทคนิค ฟิสิกส์การแพทย์
หรือทางอื่นที่ ก.ม. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักรังสีการแพทย์
4 แล้ว จะต้อง 1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล 2.
มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
หมายเหตุ:
ก.ม.กำหนดวันที่ 1 ตุลาคม 2537 |
| |