|
|
|
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานสูง หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความ รับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน
รับผิดชอบงานวิชาการบำบัด และ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท
ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มี บุคลิกภาพแปรปรวนหรือพิการ
โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วย และปกครองผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร
หรือปฏิบัติงานวิชาการบำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยโรคจิต
โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน
หรือพิการ ในลักษณะชำนาญการ หรือผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญงานเทียบ
ได้ระดับเดียวกัน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญเกี่ยวกับงานวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนหรือพิการ
โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น นิเทศงานอาชีวบำบัด
และ ฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด เพื่อพัฒนาข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวบำบัดในหน่วยงานจิตเวช
และหน่วยงานอื่น เป็นต้น ตลอดจนวางแผนกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด
รวมทั้งจัดทำเอกสารวิชาการทางด้านอาชีวบำบัด เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป
และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจถึงคุณประโยชน์ ของงานอาชีวบำบัดต่อผู้ป่วยจิตเวช
และผู้ป่วยที่มี บุคลิกภาพแปรปรวน และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และให้ การสนับสนุนแผนกจิตเวชของโรงพยาบาลทั่วไป ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งจะสร้างขึ้น ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น
ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำใน การปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา
ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานใน หน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง
ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและ แผนงานของส่วนราชการที่สังกัด
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว
ยัง ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่
และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงาน วางแผน
มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ
ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องใน การปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน
ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตาม ที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักอาชีวบำบัด
3 หรือนักอาชีวบำบัด 4 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า
2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการอาชีวบำบัด หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า
1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักอาชีวบำบัด
3 หรือนักอาชีวบำบัด 4 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 4 หรือที่
ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการอาชีวบำบัด
หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักอาชีวบำบัด
5 แล้ว จะต้อง
1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม
ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดวันที่
1 เมษายน 2521 |
|
|