KU Logoกองการเจ้าหน้าที่ 1กองการเจ้าหน้าที่ 2









มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สาย ข

นักวิชาการประมง ระดับ 3นักวิชาการประมง ระดับ 4นักวิชาการประมง ระดับ 5นักวิชาการประมง  ระดับ 6นักวิชาการประมง ระดับ 7  
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับวิชาการประมง ภายใต้การกำกับตรวจสอบโดย ใกล้ชิด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นต้น ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมาก ทำหน้าที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยาการประมง และชีวประวัติของสัตว์น้ำจืด และน้ำกร่อย เช่น ชนิดของประชากร และอนุประชากรปลาในแหล่งน้ำต่าง ๆ แหล่งและฤดูวางไข่ การอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ การปลี่ยนแปลงของประชากร เป็นต้น ศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำ วิเคราะห์อาหาร ธรรมชาติของปลา เช่น แฟลงก์ตอนเบนโธส ตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำในด้าน นิเวศน์วิทยาของปลา เพื่อปรับปรุงแหล่งน้ำและเพิ่มผลผลิต ศึกษาทดลองเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยง หรือผสมเทียมสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ศึกษาทดลองการผสม และให้อาหารสัตว์น้ำให้ได้สัดส่วนถูกต้อง ศึกษาทดลองเกี่ยวกับโรคพยาธิ และศัตรูของปลาและสัตว์น้ำ ตลอดจนวิธีป้องกันรักษา หรือควบคุมโรคที่เกิดขึ้น ให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำจืด และสัตว์น้ำกร่อยแก่ประชาชนตามที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการประมง เคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
1. มีความรู้ในวิชาการประมงน้ำจืด หรือการประมงน้ำกร่อยอย่างเหมาะสม แก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจและ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดวันที่ 1 เมษายน 2521