หน้าที่และความรับผิดชอบ
บริหารงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกอง
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมกำกับหน่วยงานด้าน
อาชีวบำบัดที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลาย และมีขั้นตอนการทำงานยุ่งยากซับซ้อนมาก
โดยปกครองบังคับ
บัญชาข้าราชการและลูกจ้างจำนวนมากพอสมควร และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ชำนาญการหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ในงานวิชาการอาชีวบำบัด
โดยงานที่ปฏิบัติ
ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ
โดยต้องคิดริเริ่มพัฒนา
แนวทางให้เหมาะสมเพื่อหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน
ตลอดจนแก้ไขปัญหาและตัดสินใจงานที่
รับผิดชอบให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ยากมากเป็นพิเศษ
ซึ่งต้องใช้ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน
และประสบการณ์ทางวิชาการอาชีวบำบัดสูงมากเป็นพิเศษ เช่น ปฏิบัติงานวิจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคนิควิธีการ
ในงานวิชาการอาชีวบำบัดให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดลักษณะและมาตรฐาน
ในการปฏิบัติงานวิชาการอาชีวบำบัด ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานวิชาการอาชีวบำบัดให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ที่กำหนด นิเทศงานอาชีวบำบัดและฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัดเพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบำบัดและฟื้นฟู
สมรรถภาพผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อนและผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนหรือพิการ
ให้คำปรึกษาแนะนำในการกำหนดและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านอาชีวบำบัด
เข้าร่วมประชุมกับแพทย์
นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และนักวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นในเรื่องการบำบัดรักษา
เผยแพร่
และติดตามผลงานทางวิชาการอาชีวบำบัด ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับ
รองลงมาและแก่นักศึกษาที่มีฝึกงานหรือดูงาน ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานวิชาการ
อาชีวบำบัดที่มีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง
ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่
เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
56.2-8
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว
ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน
ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม
ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข
ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักอาชีวบำบัด
3 หรือนักอาชีวบำบัด 4 และได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 7
หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการอาชีวบำบัด
หรือ
งานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักอาชีวบำบัด
3 หรือนักอาชีวบำบัด 4 และได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6
หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการอาชีวบำบัด
หรืองานอื่นที่
เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักอาชีวบำบัด
7 แล้ว จะต้องมีความชำนาญงานในหน้าที่และ
มีประสบการณ์สูง
หมายเหตุ ก.ม.กำหนดวันที่ 1 เมษายน 2526
(เพิ่มเติมตามหนังสือที่ ทม 0202.4/ว 171 ลว. 12 มี.ค. 2544)
หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดวันที่
1 เมษายน 2521
|